เมนู

อันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
แล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเป็นความดับ พิจารณา
เห็นความสละคืน เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้น ๆ อยู่ ย่อมไม่ยืดมั่น
อะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยืดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อม
ปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ดูก่อนโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ
จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้
เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบ โมคคัลลานสูตรที่ 8

อรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ 8


โมคคัลลานสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า จปลายมาโน ความว่า พระมหาโมคคัลลนะ เข้าไป
อาศัยหมู่บ้านนั้น กระทำสมณธรรมในไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง มีร่างกาย
ลำบากเพราะถูกความเพียรในการจงกรมตลอด 7 วัน บีบคั้น จึงนั่ง
โงกง่วงอยู่ในท้ายที่จงกรม. บทว่า จปลายสิ โน แก้เป็น นิทฺทายสิ นุ
แปลว่า เธอง่วงหรือ. บทว่า อนุมชฺชิตฺวา แปลว่า ลูบคลำแล้ว.
บทว่า อาโลกสญฺญํ ได้แก่ ความสำคัญในความสว่างเพื่อบรรเทา